เมนู

เกิดขึ้น เหมือนพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ภัยย่อมมี่แก่บริษัททั้ง 4 เป็นแน่แท้
ภัยแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น พึงทราบว่า เกิดจากคนพาล ด้วยประการดัง
พรรณนามานี้.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ (ตรัส) พระธรรมเทศนาให้ถึงที่สุด ก็ทรงจบเสีย ไฉนหนอเราพึงทูล
ถามพระทศพลแล้วกระทำเทศนาให้บริบูรณ์ด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั่นแล
จึงได้กราบทูลคำมีอาทิว่า กิตฺตาวตา นุ โข ภนฺเต นี้.

รูปปริคคหะ - อรูปปริคคหะ



ในบรรดาธาตุ 18 อย่าง การกำหนดธาตุ 10 อย่างครึ่ง ชื่อว่า
รูปปริคคหะ (คือการกำหนดรูป) การกำหนดธาตุ 7 อย่างครึ่ง เป็นอรูป-
ปริคคหะ (คือการกำหนดอรูป) ฉะนั้นจึงเป็นอันตรัสการกำหนดทั้งรูป และ
อรูปทีเดียว. ธาตุแม้ทั้งหมดเป็นเบญจขันธ์ ด้วยอำนาจขันธ์ แม้เบญจขันธ์
ก็เป็นทุกขสัจ ตัณหาอันยังเบญจขันธ์เหล่านั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทัยสัจ ความ
ไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรจสัจ ปฏิปทาเป็นเครื่อง
ให้ถึงนิโรธ เป็นมรรคสัจ ดังนั้นกรรมฐานมีสัจะจะทั้ง 4 เป็นอารมณ์ จึง
เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง นี้เป็นความ
ย่อในที่นี้. แต่โดยพิสดาร ธาตุเหล่านั้นได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
ตรัสมรรคไว้พร้อมกับวิปัสสนา ด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ ตรัส
ปฐวีธาตุเป็นต้น เพื่อทรงแสดงกายที่มีวิญญาณโดยเป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์.
ด้วยว่าปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นจะต้องให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ 18 อย่างหมวดแรก
เมื่อจะให้เต็มจำนวน ก็ควรให้เต็มโดยนำออกไปจากวิญญาณธาตุ. วิญญาณ-
ธาตุที่เหลือย่อมมี 6 อย่าง ด้วยอำนาจจักขุวิญญาณเป็นต้น. บรรดาวิญญาณ-

ธาตุเหล่านั้น เมื่อกำหนดเอาจักขุวิญญาณธาตุ ก็เป็นอันทรงกำหนดเอาธาตุทั้ง
สองเหมือนกันคือ จักขุธาตุ อันเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณธาตุนั้น 1 รูปธาตุ
ที่เป็นอารมณ์ 1 แม้ในธาตุทั้งปวงก็นัยนี้นั่นแล. แต่เมื่อกำหนดมโนวิญญาณ
ธาตุ ธาตุทั้งสองคือมโนธาตุโดยเป็นธาตุที่มาก่อนมโนวิญญาณธาตุนั้น 1
ธรรมธาตุ โดยเป็นอารมณ์ 1 ก็เป็นอันทรงกำหนดเอาแล้วเหมือนกัน ด้วย
เหตุนี้บรรดาธาตุ 18 อย่างเหล่านั้น ธาตุ 10 อย่างครึ่ง จึงเป็นรูปปริคคหะ
(คือการกำหนดรูป) เพราะเหตุนั้น ธาตุกรรมฐานแม้นี้ย่อมเป็นอันพระองค์
ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนเหมือนกัน.

อธิบายสุขธาตุ



พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า สุขธาตุ เป็นต้นต่อไป ชื่อว่าสุขธาตุ
เพราะสุขนั้นด้วย ชื่อว่า เป็นธาตุด้วย เพราะอรรถว่า ไม่ใช่สัตว์และเป็น
ของสูญ. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในธาตุ 6 อย่างนี้ ธาตุ 4
ธาตุแรก ท่านถือเอาเนื่องด้วยเป็นสิ่งขัดกัน แค่ 2 ธาตุหลังท่านถือเอาเนื่อง
ด้วยคล้ายกัน. ธาตุ คืออุเบกขาคล้ายกันกับธาตุคืออวิชชา แม้เพราะเป็นภาวะ
ที่ไม่ชัดแจ้ง. อนึ่งในธาตุ 6 นี้ เมื่อทรงกำหนดเอาสุขธาตุ และทุกขธาตุ ก็
เป็นอันทรงกำหนดเอาวิญญาณธาตุด้วย. เมื่อทรงกำหนดเอาธาตุที่เหลือ ก็
เป็นอันทรงกำหนดเอามโนวิญญาณธาตุด้วย. ธาตุ 6 อย่างแม้เหล่านี้ (คือ
สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา อวิชชา) ก็พึง (แจกออกไป) ให้
เต็ม (รูปแบบ) โดยธาตุ 18 อย่างข้างต้นนั่นแล. เมื่อจะทำให้เต็ม (รูปแบบ)
ต้องทำให้เต็มจำนวนโดยนำออกจากอุเบกขาธาตุดังกล่าวมานี้ในบรรดาธาตุ 18
อย่างเหล่านี้ ธาตุ. 10 อย่างครึ่งเป็นการกำหนดรูปแล. แม้กรรมฐานนี้ย่อม
เป็นอันตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย แก่ภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.